วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ดอกลำดวนและดอกักนเกราออกดอกหอมมาก



ช่วงปิดเทอมนี้ดอกไม้ทั้งสองชนิดส่งกลิ่นหอมมากไม่ทราบเคยได้กลิ่นหอมกันบ้างหรือเปล่า มารู้จักดอกไม้ทั้งสองชนิดนี้กันนะค่ะ




ดอกกันเกรา บ้านอีสานเรียกว่า ดอกมันปลาไม่ค่อยเห็นแล้ว)



ดอกไม้ประจำจังหวัด นครพนม, สุรินทร์
ชื่อสามัญ Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ LOGANIACEAE
ชื่ออื่น กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย


ข้อมูลจาก student.psru.ac.th/~475405046/flower3.htm - 6k


ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัด ศรีสะเกษ
ชื่อสามัญ Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ ANNONACEAE

ชื่ออื่น ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุ่ย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด ประเทศแถบอินโดจีน


ข้อมูลจาก www.panmai.com/PvFlower/fl_34.shtml - 14k

หัดทำขนมไทยช่วงปิดเทอม(กลีบลำดวน)


ส่วนผสม
แป้งสาลี 5 ถ้วยตวง, น้ำตาลป่น 2 1/2 ถ้วยตวง, น้ำมันพืช 1 1/2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
ผสมแป้งสาลีกับน้ำตาลป่นเข้าด้วยกัน ควรคนให้กระจาย ตัวทั่วกันดีเสียก่อน จึงเทน้ำมันลงในแป้งนวดเบา ๆ ให้เข้า กันดี ถ้ายังแป้งมากไม่อาจเกาะกันได้ เติมน้ำมันได้อีกเล็ก น้อย
คลึงออกเป็นแท่งกลมยาว แล้วตัดเป็นท่อน ให้ท่อนหนึ่ง ๆ หนึ่ง เมื่อปั้นเป็นก้อนกลม จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางสักประมาณ 1 1/2 เซนติเมตร และปั้นเป็นก้อนกลมไว้ให้หมด
ใช้มีดคม ๆ ผ่าแต่ละก้อนออกเป็น 4 ส่วน ปั้นแต่ละส่วนให้ คล้ายกลีบดอกลำดวน แล้วจับปลายชนกันเป็น 4 กลีบ จากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ๆ วางลงตรงกลาง ปั้นเรียงให้เต็มถาดที่ทาน้ำมันไว้แล้ว
นำเข้าอบที่ 350 องศาฟาเรนไฮท์ ประมาณ 8-10 นาที ให้ได้สีนวล ๆ เหมือนดอกลำดวนจริง ๆ จึงนำออกจากเตา พักไว้ให้เย็นสนิทเสียก่อนจึงแซะใส่ขวดโหล
อบด้วยดอกมะลิ กระดังงาหรือควันเทียน

กรดออกซาลิก ในผัก ผลไม้




ผักผลไม้บางชนิด มีกรดออก ซาลิก อยู่ หากกินในปริมาณมากๆ อาจจะไปจับกับแคลเซียมทำให้เกิดนิ่วได้
ตั้งแต่เกิดมาทุกคนจะถูกปลูกฝังให้กินผัก ผลไม้ เยอะ ๆ ทั้งที่บางคนก็ไม่เคยรู้เลยว่า ในผัก ผลไม้ ที่กินเข้าไปนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร หรืออาจจะมีสารอะไรบ้างที่เป็นพิษต่อร่างกาย ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า ผัก ผลไม้ บางชนิดที่เรากินเข้าไปทุกวัน มี กรดออก ซาลิก อยู่หากเรากินเข้าไปในปริมาณ มาก ๆ มันอาจจะไปจับกับแคลเซียม ทำให้เกิดนิ่วได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุร วัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ในผักต่าง ๆ จะมีกรดออกซาลิกมาก โดยเฉพาะ ยอดผัก ใบ หรือต้นอ่อน กรดออกซาลิก มีอยู่ในผักหลายชนิด ได้แก่ ใบชะพลู ยอดพริกชี้ฟ้า ผักปลัง ผักโขม ผักชีฝรั่ง ผักกระเฉด หัวไชเท้า ใบโหระพา หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี ผักกาด แครอท มันสำปะหลัง ดอกกะหล่ำ มะเขือ กระเทียม ในผักบางชนิดนอกจากจะมีกรดออกซาลิกมากแล้ว จะมีแคลเซียมอยู่ในตัวมันเองเยอะด้วย ก็ยิ่งจะรวมตัวกัน และทำให้เกิดนิ่วได้ง่ายขึ้น ส่วนผลไม้ที่มีกรดออกซาลิก ได้แก่ สับปะรด กล้วยไข่ พุทรา การกินผักและผลไม้ที่มีกรดออกซาลิก มาก ๆ มันจะไปจับกับแร่ธาตุตัวอื่น ๆ กลายเป็นผลึกออกซาเลต เช่น จับกับแคลเซียม ก็จะกลายเป็น แคลเซียมออกซาเลต จับกับโซเดียม ก็จะกลายเป็น โซเดียมออกซาเลต กรดออกซาลิกจะชอบไปจับแคลเซียม ทำให้เกิดแคลเซียมออกซาเลตได้ง่าย ยิ่งในปัจจุบันคนชอบกินแคลเซียมเม็ด กรดออกซาลิกก็จะไปจับกับแคลเซียมที่กินเข้าไป หรือไปจับกับแคลเซียมในกระดูก ทำให้เกิดผลึกนิ่ว กระดูกงอก กระดูกย้อย พอกระดูกของคนเราถูกดึงแคลเซียมออกไป กระดูกก็จะพรุนง่าย ทำให้มีหินปูนงอกตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เอกซเรย์แล้วอาจจะเจอกระดูกงอกตรงนั้นตรงนี้ กลายเป็นก้อนนิ่วเลยก็ได้ ความจริงร่างกายสามารถขับกรดออกซาลิกออกมาทางปัสสาวะได้ แต่ในคนที่มีปัญหาเรื่องไต ไม่ควรกินเพราะร่างกายจะไม่สามารถขับกรดออกซาลิก ออกมาได้หรือขับออกมาได้น้อย ทำให้เกิดนิ่วในไต หรือกระเพาะปัสสาวะได้ คนที่กินแคลเซียมเม็ด ก็ไม่ควรกินผักที่มีกรดออกซาลิก หรือถ้ากินผักที่มีกรดออกซาลิก ก็ไม่ควรกินร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียม เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นได้ ดังนั้นการกินผัก ผลไม้ ที่มีกรดออกซาลิก ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเป็นกิโลกรัม หรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือกินร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียม อย่างไรก็ตามผัก และผลไม้ ที่กล่าวมา แม้จะมีกรดออกซาลิก ที่อาจเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ประโยชน์ด้านอื่นก็มีเช่นกัน เช่น มีวิตามิน แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หรือมีคลอโรฟิลล์เยอะ ซึ่งคลอโรฟิลล์จะช่วยนำสารอาหารเข้าไปในร่างกาย ช่วยชะลอเซลล์ที่เสื่อมได้ หลักสำคัญในการกิน คือ กินอาหารที่หลากหลาย ไม่ควรกินอะไรซ้ำ ๆ โดยเฉพาะยอดผัก มีสีเขียวจัด กลิ่นฉุน กลิ่นแรง. นวพรรษ บุญชาญ
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์