วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่แบบ apoplast และ symplast ในราก







อโพพลาส (apoplast) การเคลื่อนที่ของน้ำในดินเข้าสู่รากผ่านชั้นคอร์เทกซ์ของรากไปจนถึงชั้นเอนโดเดอร์มิสได้โดยน้ำจะผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งทางผนังเซลล์หรือผ่านทางช่องว่างระหว่างเซลล์

ซิมพลาส (symplast)การเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่งทางไซโทพลาซึม ที่เรียกว่าพลาสโมเดสมาเข้าไปในเซลล์เอนโดเดอร์มิส ก่อนเข้าสู่ไซเลม เมื่อน้ำเคลื่อนที่มาถึงผนังเซลล์เอนโดเดอร์มิสที่มีแคสพาเรียนสตริพกั้นอยู่ แคสพาเรียนสติพป้องกันไม่ให้น้ำผ่านผนังเซลล์เข้าไปในไซเลม ดังนั้นน้ำจึงต้องผ่านทางไซโทพลาซึมจึงจะเข้าไปในไซเลมได้



เซลล์บัลลิฟอร์ม bulliform cell



ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หญ้า ข้าวโพด ที่ชั้นเอพิเดอร์มิสมีเซลล์ขนาดใหญ่และผนังเซลล์บาง เรียกว่า บัลลิฟอร์มเซลล์ (bulliform cell) ช่วยทำให้ใบม้วนงอได้ เมื่อพืชขาดน้ำจะช่วยลดการคายน้ำของพืชให้น้อยลง
• Bulliformcells เรียกอีกอย่างว่า moter cell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ ผนังเซลล์บาง รูปร่างคล้ายถุง พบอยู่ด้านหลังใบ (upper epidermis) อยู่ตลอดความยาวของใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งมักพบประมาณ 3-4 เซลล์ต่อกลุ่ม ภายในบรรจุน้ำทำให้เซลล์เต่ง ใบพืชแผ่ขยายออก แต่ถ้า bulliform cells สูญเสียน้ำ เซลล์จะลีบลงเป็นผลทำให้ใบพืชม้วนงอ หรือเหี่ยว

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน complex permanent tissue














ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่ เนื้อเยื่อท่อลำเลียง vascular bundle แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ไซเลม และ โฟลเอม
1. ไซเลม xylem เนื้อเยื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียง คือ
1.1 เวสเซล vessel ประกอบด้วย เวสเซลเมมเบอร์ vessel member เป็นเซลล์ที่ตายแล้วผนังเซลล์
มีสารลิกนินเคลือบไม่สม่ำเสมอบริเวณที่ไม่มีสารเคลืบเรียกว่า พิท pit ทำให้น้ำไหลติดต่อกันได้รูปร่างยาวหรือสั้นก็ได้ปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงมีช่องทะลุถึงกัน เวสเซลเมมเบอร์มาต่อกันเป็นท่อเรียกว่า เวสเซล
1.2. เทรคีด tracheid เป็นเซลล์รูปร่างยาว หัวท้ายแหลม ปลายเซลล์ซ้อนเหลื่อมกัน ผนังเซลล์มีสารลิกนินเคลือบหนาไม่ส่ม่ำเสมอมีพิท เป็นที่ตายแล้ว ส่วนมากพบในพืชพวก จิมโนสเปิร์ม gymnosperm พวกตระกูลสนท่อน้ำจะมีเฉพาะเทรคีดเท่านั้น
1.3 ไซเลมพาเรงคิมา xylem pparenchyma มีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์บาง ถ้าเรียงตามขวางเป็นไซเลมเรย์ xylem ray ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำออกทางด้านข้าง
1.4 ไซเลมไฟเบอร์ xylem fiber แทรกอยู่ตามเซลล์ไซเลมอื่นให้ความแข็งแรงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

2. โฟลเอม phloem เนื้อเยื่อลำเลียงอาหารประกอบด้วย
2.1ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ sieve tube member เป็นเซลล์มีชีวิตแต่ไม่มีนิวเคลียส รูปร่างทรงกระบอกปลายผนังเซลล์ทั้ง 2 ด้านมีลักษณะเป็นตะแกรงเรียกว่า ซีฟเพลท sieve plate หลายเซลล์มาเรียงกันเป็นท่อเรียกว่า ซีฟทิวบ์
2.2 คอมพาเนียนเซลล์ companion cell เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากพาเรงคิมา เซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียส มีชีวิต ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับซีฟทิวบ์ และเชื่อว่ามัอิทธิพลต่อการลำเลียงของซีฟทิวบ์
2.3 โฟลเอมพาเรงคิมา ploem parenchyma เป็นพาเรงคิมาที่แทรกตามท่ออาหาร หน้าที่ สะสมอาหาร ถ้าลำเลียงอาหารไปด้านข้าง เรียกว่า โฟลเอมเรย์ phloem ray
2.4 โฟลเอมไฟเบอร์ phloem fiber ให้ความแข็งแรงแก่พืช

เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว simple permanent tiisue







ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกันแบ่งตามหน้าที่และส่วนประกอบภายในเซลล์ได้ดังนี้

1.เอพิเดอร์มิส epidermis เนื้อเยื่ออยู่รอบนอกสุด มีชั้นเดียว รูปร่างแบน แวคิวโอลใหญ่ เรียงกันแน่นไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ มีสารคิวทินเคลือบที่ผนังเซลล์ ป้องกันการระเหยน้ำได้

2.พาเรงคิมา parenchyma เนื้อเยื่อที่พบทั่วไปในพืชรูปร่างค่อนข้างกลม รี ทรงกระบอก เมื่อเรียงติดกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ intercellular space แวคคิวโอลเกือบเต็มเซลล์ ถ้าภายในมีเม็ดคลอโรพลาสต์ทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เรียกว่า คลอเรนคิมา chlorenchyma และถ้าเป็นที่เก็บสะสมอาหาร เรียกว่า รีเสริฟพาเรงคิมา reserve paenchyma

3.คอลเรงคิมา collenchyma คล้ายพาเรงคิมามีสารเพกตินเคลือบชั้นเซลลูโลสของผนังเซลล์ทำให้ผนังเซลล์หนาไม่เท่ากัน ส่วนหนามักอยู่ตามมุมของเซลล์ พบมากในก้านใบ เส้นกลางใบ และชั้นคอร์เทกซืของไม้ล้มลุก ช่วยให้ความแข็งแรง
4.สเกลอเรงคิมา sclerenchyma เป็นเนื้อเยื่อที่มีสารลิกนินเคลือบผนังเซลล์ช่วยพยุงและให้ความแข็งแรง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
4.1 ไฟเบอร์ fiber รูปร่างเรียวยาวผนังเซลล์หนาให้ความแข็งแรงแก่พืช
4.2 สเกลอรีด sclereid, stone cell รูปร่างสั้น ป้อม มักอยู่ตามส่วนที่แข็งๆของเปลือกต้นไม้ เปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อผลไม้ที่สากๆ
5.เอนโดเดอร์มิส endodermis เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของท่อลำเลียงของราก รูปร่างคล้ายพาเรงคิมาผนังเซลล์มีสารลิกนินอละซูเบอรลินเคลือบจะทำให้เป็นแถบ ที่เรียบว่า แคสพาเรียน สตริบ casparian strip จะไม่ยอมให้น้ำผ่านได้ แต่บางเซลล์ไม่มีสารเคลือบจะยอมให้น้ำผ่านได้ เรียกว่า พาสเสดเซลล์ passage cell มักจะอยู่ตรงกับท่อลำเลียงน้ำ xylem

6. คอร์ก cork เนื้อเยื่อนอกสุดของรากและลำต้น มีคอร์กแคมเบียมเป็นพาเรงคิมาที่เจริญเป็นเนื้อเยื่อเจริญ ถ้าเจริญออกทางด้านนอกจะเป็รคอร์ก และเจริญเข้าด้านในจะเป็นส่วนที่เรียกว่า เฟลโลเดิร์ม phelloderm ผนังเซลล์คอร์กจะมีสาร
ซูเบอรินมาเคลือบเป็นสารพวกขี้ผึ้งช่วยป้องกันการระเหยของน้ำภายในเซลล์

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เนื้อเยื่อเจริญ( meristematic tissue )

















เนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีผนังบางสามารถแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้ จำแนกได้ 3ชนิดตามตำแหน่งที่อยู่ส่วนต่างของพืช
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย( apical meristem)อยู่ปลายยอดและปลายรากทำให้รากและลำต้นยาวออก
2.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ(intercalary meristem) อยู่เหนือข้อ และปล้องทำให้ปล้องยาวออกพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ไผ่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด หญ้า
3.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง(lateral meristem)ทำให้รากและลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้นพบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่วไปและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่นหมากผู้หมากเมีย จันทน์ผา เรียกเนื้อเยื่อนี้ว่า แคมเบียม (cambium)ถ้าอยู่ในกลุ่มท่อลำเลียงเรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม(vascular cambium) ถ้าอยู่ถัดจากชั้นเยื่อบุผิวรากและลำต้นเข้าไปเรียกว่า
คอร์กแคมเบียม( cork cambium)