วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ดอกลำดวนและดอกักนเกราออกดอกหอมมาก



ช่วงปิดเทอมนี้ดอกไม้ทั้งสองชนิดส่งกลิ่นหอมมากไม่ทราบเคยได้กลิ่นหอมกันบ้างหรือเปล่า มารู้จักดอกไม้ทั้งสองชนิดนี้กันนะค่ะ




ดอกกันเกรา บ้านอีสานเรียกว่า ดอกมันปลาไม่ค่อยเห็นแล้ว)



ดอกไม้ประจำจังหวัด นครพนม, สุรินทร์
ชื่อสามัญ Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ LOGANIACEAE
ชื่ออื่น กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย


ข้อมูลจาก student.psru.ac.th/~475405046/flower3.htm - 6k


ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัด ศรีสะเกษ
ชื่อสามัญ Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ ANNONACEAE

ชื่ออื่น ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุ่ย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด ประเทศแถบอินโดจีน


ข้อมูลจาก www.panmai.com/PvFlower/fl_34.shtml - 14k

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น