วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน complex permanent tissue














ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่ร่วมกัน ได้แก่ เนื้อเยื่อท่อลำเลียง vascular bundle แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ไซเลม และ โฟลเอม
1. ไซเลม xylem เนื้อเยื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียง คือ
1.1 เวสเซล vessel ประกอบด้วย เวสเซลเมมเบอร์ vessel member เป็นเซลล์ที่ตายแล้วผนังเซลล์
มีสารลิกนินเคลือบไม่สม่ำเสมอบริเวณที่ไม่มีสารเคลืบเรียกว่า พิท pit ทำให้น้ำไหลติดต่อกันได้รูปร่างยาวหรือสั้นก็ได้ปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงมีช่องทะลุถึงกัน เวสเซลเมมเบอร์มาต่อกันเป็นท่อเรียกว่า เวสเซล
1.2. เทรคีด tracheid เป็นเซลล์รูปร่างยาว หัวท้ายแหลม ปลายเซลล์ซ้อนเหลื่อมกัน ผนังเซลล์มีสารลิกนินเคลือบหนาไม่ส่ม่ำเสมอมีพิท เป็นที่ตายแล้ว ส่วนมากพบในพืชพวก จิมโนสเปิร์ม gymnosperm พวกตระกูลสนท่อน้ำจะมีเฉพาะเทรคีดเท่านั้น
1.3 ไซเลมพาเรงคิมา xylem pparenchyma มีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์บาง ถ้าเรียงตามขวางเป็นไซเลมเรย์ xylem ray ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำออกทางด้านข้าง
1.4 ไซเลมไฟเบอร์ xylem fiber แทรกอยู่ตามเซลล์ไซเลมอื่นให้ความแข็งแรงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

2. โฟลเอม phloem เนื้อเยื่อลำเลียงอาหารประกอบด้วย
2.1ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ sieve tube member เป็นเซลล์มีชีวิตแต่ไม่มีนิวเคลียส รูปร่างทรงกระบอกปลายผนังเซลล์ทั้ง 2 ด้านมีลักษณะเป็นตะแกรงเรียกว่า ซีฟเพลท sieve plate หลายเซลล์มาเรียงกันเป็นท่อเรียกว่า ซีฟทิวบ์
2.2 คอมพาเนียนเซลล์ companion cell เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากพาเรงคิมา เซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียส มีชีวิต ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับซีฟทิวบ์ และเชื่อว่ามัอิทธิพลต่อการลำเลียงของซีฟทิวบ์
2.3 โฟลเอมพาเรงคิมา ploem parenchyma เป็นพาเรงคิมาที่แทรกตามท่ออาหาร หน้าที่ สะสมอาหาร ถ้าลำเลียงอาหารไปด้านข้าง เรียกว่า โฟลเอมเรย์ phloem ray
2.4 โฟลเอมไฟเบอร์ phloem fiber ให้ความแข็งแรงแก่พืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น