วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว simple permanent tiisue







ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกันแบ่งตามหน้าที่และส่วนประกอบภายในเซลล์ได้ดังนี้

1.เอพิเดอร์มิส epidermis เนื้อเยื่ออยู่รอบนอกสุด มีชั้นเดียว รูปร่างแบน แวคิวโอลใหญ่ เรียงกันแน่นไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ มีสารคิวทินเคลือบที่ผนังเซลล์ ป้องกันการระเหยน้ำได้

2.พาเรงคิมา parenchyma เนื้อเยื่อที่พบทั่วไปในพืชรูปร่างค่อนข้างกลม รี ทรงกระบอก เมื่อเรียงติดกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ intercellular space แวคคิวโอลเกือบเต็มเซลล์ ถ้าภายในมีเม็ดคลอโรพลาสต์ทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เรียกว่า คลอเรนคิมา chlorenchyma และถ้าเป็นที่เก็บสะสมอาหาร เรียกว่า รีเสริฟพาเรงคิมา reserve paenchyma

3.คอลเรงคิมา collenchyma คล้ายพาเรงคิมามีสารเพกตินเคลือบชั้นเซลลูโลสของผนังเซลล์ทำให้ผนังเซลล์หนาไม่เท่ากัน ส่วนหนามักอยู่ตามมุมของเซลล์ พบมากในก้านใบ เส้นกลางใบ และชั้นคอร์เทกซืของไม้ล้มลุก ช่วยให้ความแข็งแรง
4.สเกลอเรงคิมา sclerenchyma เป็นเนื้อเยื่อที่มีสารลิกนินเคลือบผนังเซลล์ช่วยพยุงและให้ความแข็งแรง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
4.1 ไฟเบอร์ fiber รูปร่างเรียวยาวผนังเซลล์หนาให้ความแข็งแรงแก่พืช
4.2 สเกลอรีด sclereid, stone cell รูปร่างสั้น ป้อม มักอยู่ตามส่วนที่แข็งๆของเปลือกต้นไม้ เปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อผลไม้ที่สากๆ
5.เอนโดเดอร์มิส endodermis เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของท่อลำเลียงของราก รูปร่างคล้ายพาเรงคิมาผนังเซลล์มีสารลิกนินอละซูเบอรลินเคลือบจะทำให้เป็นแถบ ที่เรียบว่า แคสพาเรียน สตริบ casparian strip จะไม่ยอมให้น้ำผ่านได้ แต่บางเซลล์ไม่มีสารเคลือบจะยอมให้น้ำผ่านได้ เรียกว่า พาสเสดเซลล์ passage cell มักจะอยู่ตรงกับท่อลำเลียงน้ำ xylem

6. คอร์ก cork เนื้อเยื่อนอกสุดของรากและลำต้น มีคอร์กแคมเบียมเป็นพาเรงคิมาที่เจริญเป็นเนื้อเยื่อเจริญ ถ้าเจริญออกทางด้านนอกจะเป็รคอร์ก และเจริญเข้าด้านในจะเป็นส่วนที่เรียกว่า เฟลโลเดิร์ม phelloderm ผนังเซลล์คอร์กจะมีสาร
ซูเบอรินมาเคลือบเป็นสารพวกขี้ผึ้งช่วยป้องกันการระเหยของน้ำภายในเซลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น